Last updated: 18 พ.ย. 2566 |
ในวันที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ประกันชีวิตคือสิ่งที่ทุกคนจะนึกถึงเป็นสิ่งแรกๆ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพียงตัวเดียวที่จะเป็นพระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นเหตุการณ์ที่ยากลำบากนั้นไปได้ด้วยกัน
เมื่อประกันชีวิตสำคัญขนาดนี้ สัญญาประกันชีวิตจึงมีความยืดหยุ่นโดยธรรมชาติ ดังนั้นหากส่งเบี้ยประกันชีวิตไม่ไหว สามารถแก้ปัญหาได้ 4 วิธีดังนี้ครับ
กรณี: ต้องการหยุดส่งเบี้ยแค่ชั่วคราว เนื่องจากปัญหาสภาพคล่อง
เมื่อส่งเบี้ยประกันชีวิตมา 2ปีขึ้นไป กรมธรรรม์จะมีมูลค่าเงินสดอยู่ ซึ่งผู้ถือกรมธรรม์สามารถทำเรื่องกู้เงินในกรมธรรม์มาใช้ได้ ตามตารางมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ (ยกเว้นประกันชีวิตแบบจ่ายทิ้ง) *ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แพงและคิดตามจริงเป็นรายวัน โดยสัญญาประกันชีวิตยังคงมีผลคุ้มครองต่อไป
*ดอกเบี้ยเงินกู้กรมธรรม์แต่และแบบแตกต่างกัน
กรณี: ต้องการหยุดส่งเบี้ย โดยไม่ขาดทุน
คือการทำเรื่อง หยุดส่งเบี้ยประกันที่เหลือทั้งหมด แต่ให้คุ้มครองชีวิตต่อไปจนครบสัญญา โดยลดทุนประกันลงตามตารางมูลค่าใช้เงินสำเร็จ ณ ปีกรมธรรม์นั้นๆ หากเสียชีวิต หรือ กรมธรรม์ครบสัญญา ก็จะได้ เงินชดเชย/เงินคืน เท่ากับทุนประกัน ณ ปีที่ใช้มูลค่าเงินสำเร็จ
กรณี: ต้องการหยุดส่งเบี้ย และให้คุ้มครองชีวิตเท่าเดิมต่อไป
คือการทำเรื่อง หยุดส่งเบี้ยประกันที่เหลือทั้งหมด แต่ให้คุ้มครองทุนประกันชีวิตเท่าเดิมต่อไปจนกว่าจะหมดระยะเวลา ตามตารางมูลค่าขยายระยะเวลา (อาจมีเงินคืนทันทีบางส่วน) ณ ปีกรมธรรม์นั้นๆ หากเสียชีวิตภายในช่วงขยายระยะเวลาก็จะได้เงินชดเชยประกันชีวิตเต็มทุนประกัน แต่ถ้าหากพ้นช่วงขยายระยะเวลาไปแล้ว ถือว่าประกันชีวิตสิ้นผลบังคับ และจะไม่มีเงินคืนใดๆ
กรณี: ไม่ต้องการมีประกันชีวิตอีกต่อไปแล้ว
วิธีนี้ผมขอแนะนำเป็นวิธีสุดท้าย โดยหากปิดกรมธรรม์แล้วจะได้รับเงินคืนตามตารางมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ทำให้เสียผลประโยชน์จากการที่ถือประกันไม่ครบตามสัญญา และ อาจขาดทุนได้
9 ส.ค. 2565
25 มี.ค. 2565